ตอนที่เราดูหนังโฆษณาหรือรับชมภาพยตร์ หรือมิวสิควีดีโอ … ทำใมภาพสวย ถ่ายแบบไหนให้ภาพแบบนี้ ส่งสัยว่าใช้กล้องอะไรถ่ายกัน แต่ในความจริงช่างภาพเป็นส่วนหนึ่ง เกือบทั้งหมดเป็นฝือมือของ Colorist เป็นเทคนิคของการปรับสีที่เรียกว่า color Gradging หรือ Color Correction ไม่ใช่แค่กล้องที่ถ่ายทอดค่าสีสวยแจ่ม หรือการสร้าง Mood&Tone ให้กับวีดีโออย่างที่หลายคนคิด นี่คือเหตุผลที่ทำใมภาพยนตร์ และโฆษณาถึงต้องจำเป็นต้องนำเทคนิคการเกรดสี
.
Color Grading/Color Correction
เริ่มต้นด้วย Color Grading และ Color Correction คงจะสงสัยว่าจริงๆ แล้วคำไหนถูกต้อง แล้วมันควรต้องเรียกว่าอะไรกันแน่ หรือจริงๆ แล้วสองคำนี้มันเหมือนกัน เป็นอย่างเดียวกัน
ความเป็นจริงนั้น ระหว่าง Color Grading และ Color Correction นั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียด ถึงแม้ทำหน้าที่โดยรวมจะคล้ายกันๆ คือการแก้ใขสีให้ถูกต้อง และปรับแต่งสีให้สวยงาม หากแต่ในรายละเอียดนั้น จะมีความแตกต่างกันดังนี้
.
Color Correction คือการแก้ไขปัญหา หรือความไม่ต่อเนื่องกันของสีที่ไม่สามารถทำได้ตั้งแต่ในขั้นตอนของ Production เพราะบางครั้งภาพเดียวกัน สถานที่เดียวกัน แต่อาจดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกล้องที่แตกต่างกันเนื่องจากความแตกต่างของแสงมุม หรือแม้กระทั่งเซ็นเซอร์ประเภทต่างๆ การทำงานของ Color Correction จึงมีหน้าที่แก้ปัญหาในเชิงเทคนิคที่เกิดจากกระบวนการ Production เป็นส่วนใหญ่ เช่น ภาพมืด หรือสว่างเกินไป สีเพี้ยนไปจากของจริง เป็นต้น
.
ส่วน Color Grading นั้นก็คือการเกลี่ยสีของภาพแต่ละช็อตที่ทำการปรับ หรือแก้ใขสี (Color Correction) ให้ผลงานทั้งหมดมีความต่อเนื่อง การทำงาน Color Grading จึงมีหน้าที่ทั้งการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคที่เกิดจากกระบวนการ Production และการปรับแต่งสีเชิงสร้างสรรค์ตามความต้องการของผู้กำกับนั่นเอง
.
Colorist คือกลุ่มคนที่ทำงานด้านสีโดยเฉพาะที่ปัจจุบันเริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เพราะแทบจะเรียกได้ว่าผลงานภาพเคลื่อนไหวแทบทุกชิ้นในชิ้นงานวิดีโอสเกลใหญ่ๆ ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน จะต้องมีขั้นตอนการทำ Color Grading ทั้งนี้ก็เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่ต่อเนื่องของสีแล้ว Colorist ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ หรือช่วยผู้กำกับในการสร้างบรรยากาศของสีเพื่อกำหนด Art Direction ให้กับผลงานได้เป็นอย่างมาก
ข้อมูลเพิ่มเติม www.454mediahouse.com